Article | เริ่มแล้ว “อีเพย์เมนต์” ภาษีร้านค้าออนไลน์

กฎหมายอีเพย์เมนต์เริ่มใช้เมื่อไหร่

กฎหมายภาษี  E-payment เริ่มใช้ (ประกาศในราชกิจจานุเบกษา) และเก็บข้อมูลประชาชนแล้วตั้งแต่วันที่ 21 มี.ค. 2562  และให้สถาบันการเงินส่งรายงานธุรกรรมครั้งแรกต่อกรมสรรพากร ภายในวันที่ 31 มีนาคม 2563 โดยธนาคารและผู้ให้บริการทางการเงินต้องรายงาน “ธุรกรรมที่มีลักษณะเฉพาะ” ให้กรมสรรพากร หากไม่รายงานจะมีบทลงโทษปรับไม่เกิน 100,000 บาท และปรับอีกไม่เกินวันละ 10,000 บาท ตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนอยู่หรือจนกว่าจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง


ใครบ้างที่ต้องจ่ายภาษีอีเพย์เมนต์

ผู้ที่มีรายได้ มียอดฝาก หรือ รับโอนเงินทุกคน เพื่อวิเคราะห์พฤติกรรมผู้เสียภาษี ไม่ว่าจะเป็น  ร้านค้าออนไลน์, บริษัท-ห้างร้านต่าง ๆ,พ่อค้า-แม่ค้า,มนุษย์เงินเดือน, รับจ้าง หรือแม้แต่บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล สรุปคือทุกคนที่ไม่ได้ยื่นเสียภาษีอย่างถูกต้องนั่นเอง แต่กฎหมายฉบับนี้ไม่มีการตรวจสอบภาษีย้อนหลังแต่อย่างใด


สถาบันการเงินจะรายงานข้อมูลให้กรมสรรพกรเมื่อไหร่

สถาบันการเงินจะส่งข้อมูลการใช้บริการให้กรมสรรพากรก็ต่อเมื่อ จะต้องมียอดฝากหรือรับโอนเงิน รวมกันทุกช่องทางทั้งเคาน์เตอร์ธนาคาร ตู้เอทีเอ็ม และ Internet Banking (ไม่รวมการโอนเงินให้บัญชีตนเองและคนอื่น) ในแต่ละธนาคาร ตามหลักเกณฑ์ ดังนี้


         1. ฝากหรือรับโอนเงินทุกบัญชีตั้งแต่ 3,000 ครั้ง/ปี

         เงินที่รับโอนในแต่ละวันจะต้องมีมากถึง 10 ครั้ง ถึงจะมียอดรวมกัน 3,650 ครั้ง ซึ่งเกินกว่า 3,000 ครั้งต่อปี หรือรับโอนเงิน 5,000 บาทต่อครั้ง เป็นจำนวน 400 ครั้ง จึงจะมียอดเงิน 2 ล้านบาท ซึ่งก็จะเข้าข่ายกฎหมายฉบับนี้ทันที


แต่ในกรณีตลอดทั้งปีรับโอนเงินมา 10 ล้านบาท แต่หากจำนวนครั้งที่รับโอนมีแค่ 100 หรือ 200 ครั้ง ก็ไม่เข้าข่ายที่ธนาคารพาณิชย์ต้องส่งข้อมูลให้แก่กรมสรรพากรแต่อย่างใด


         2. ฝากหรือรับโอนเงินทุกบัญชีรวมกันตั้งแต่ 400 ครั้ง และมียอดเงินรวมกันตั้งแต่ 2 ล้านบาท/ปีขึ้นไป

      ต้องเข้า 2 เงื่อนไข ทั้งจำนวนครั้งและมูลค่าเงิน เช่น ยอดโอน 400 ครั้ง มูลค่ารวม 2.5 ล้านบาท แบบนี้คือโดนตรวจสอบ  

         แต่ถ้าเป็น ยอดโอน 400 ครั้ง มูลค่ารวม 1 ล้านบาท แบบนี้จะไม่โดนตรวจสอบ หรือยอดโอน 300 ครั้ง มูลค่า 3 ล้านบาท ก็ไม่โดนตรวจสอบเช่นกัน  



**ด้วยเงื่อนไขเช่นนี้ ร้านค้าอาหารที่รับเงินผ่าน QR ก็น่าจะเข้าข่ายแทบทั้งหมด เพราะเฉลี่ยรับโอนวันละ 8.2 ครั้งก็เข้าข่ายแล้ว หรือแม่ค้าออนไลน์ที่ยอดอาจจะสูงสักหน่อย ก็น่าจะเข้าข่ายได้โดยง่าย**


      ทั้งนี้ การนับยอดทำธุรกรรมจะเป็นแบบปีต่อปี คือ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 31 ธันวาคม ของปีนั้น ๆ โดยข้อมูลที่่ส่งจะแยกเป็นรายสถาบันการเงิน และผู้ให้บริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ ไม่ได้รวมข้อมูลหรือเชื่อมโยงกัน


กฎหมายฉบับนี้ เป็นคนละส่วนกับการเรียกเก็บภาษีขายของออนไลน์ เพราะเป็นเพียงการให้ธนาคารเปิดเผยข้อมูลบัญชี เพื่อให้กรมสรรพากรตรวจสอบเท่านั้น ซึ่งอาจจะโดนเก็บภาษีหรือไม่โดนก็ได้ เพราะต้องไปดูรายได้รวมอีกที  


เตรียมตัวอย่างไรหลังจากกฎหมายเริ่มบังคับใช้

ใครที่ยื่นภาษีอย่างถูกต้อง ทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายชัดเจน และเก็บเอกสารต่าง ๆ หลักฐานครบถ้วน รับรองว่าไม่มีปัญหาตามมาแน่นอน เพราะเกณฑ์การเสียภาษีต่าง ๆ ยังคงเท่าเดิมแลไม่มีการตรวจสอบย้อนหลัง


ถ้าเป็นกรณีมีการรับโอนเงินเกินกำหนด แต่การโอนนั้นไม่ใช่การซื้อ-ขาย เราไม่ได้มีรายได้จากตรงนั้น เช่น ลูกได้รับโอนเงินจากพ่อ-แม่ ยังไงกรณีนี้ก็ไม่เข้าข่ายต้องเสียภาษีอยู่แล้ว หากกรมสรรพากรเรียกตรวจสอบ เราก็เพียงแจ้งไปตามข้อเท็จจริงเท่านั้น


สรุปแล้วกฎหมายฉบับนี้ เพื่อปิดช่องโหว่ของผู้ประกอบการรายใหญ่ที่มีรายได้หลายสิบล้านบาทขึ้นไป แต่ไม่เคยเสียภาษีแม้แต่บาทเดียวมาทำการจ่ายภาษีและต้องการตรวจสอบให้ผู้ที่อยู่นอกระบบภาษี เข้ามาเสียภาษีแบบถูกต้องมากขึ้นนั่นเอง


หากผู้ประกอบการร้านค้าออนไลน์ท่านใดมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการจัดการระบบการเงินออนไลน์สามารถสอบถามได้ที่นี่


Return to Blog page
Zurika Development
© 2019