ทำ IT Project อย่างไรให้ปัง และ Pros & Cons ของการทำธุรกรรมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์

Electronic Commerce หรือ การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หมายถึง การทำธุรกรรมทางเศรษฐกิจที่ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น การซื้อขายสินค้าและบริหาร การโฆษณาสินค้า การโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งการมีเว็บไซต์ E-Commerce ก็เปรียบเสมือนคุณมีหน้าร้านที่พร้อมจะให้คนมาซื้อสินค้าตลอด 24 ชั่วโมง ซึ่งหากคุณต้องการมีธุรกิจ E-commerce เป็นของตัวเอง สามารถทำได้ดังต่อไปนี้

1.ทำเว็บไซต์ E-Commerce เอง

ค่าใช้จ่าย 0-50,000 บาท

สามารถทำได้หลายวิธี และมีหลายบริษัทที่ให้บริการเกี่ยวกับเว็บไซต์สำเร็จรูป แต่สิ่งที่ตามมาคือ หากคุณไม่ได้มีความเข้าใจในระบบและวิธีการทำ จะทำให้คุณเสียเวลา และสิ่งที่ต้องตระหนักไปมากกว่านั้นคือ ค่าใช้จ่ายที่มองไม่เห็น เช่น ค่าพนักงานที่ต้องมารับผิดชอบเรื่องการทำเว็บไซต์ ซึ่งหากพนักงานคนนี้มีเงินเดือนอยู่ที่ 25,000 บาท ถูกมอบหมายให้ดูแลเว็บไซต์ไป 4 เดือน ค่าเว็บไซต์ของคุณจะไม่ได้อยู่ที่ไม่กี่พันแล้ว แต่มันจะทะยานขึ้นไปเป็นหลักแสนบาทเลยทีเดียว

  • WordPress + WooCommerce: เป็น CMS ก็สามารถเลือกดาวน์โหลด Template ฟรี หรือซื้อ Template ในราคา 1,000-3,000 บาท
  • Wix - หากคุณต้องการทำเว็บไซ์ที่สามารถจ่ายเงินออนไลน์ได้ต้องจ่ายเพิ่ม 6000 บาทต่อปี

ข้อดี

  • มีความเข้าใจในสินค้าได้ดี
  • ราคาถูกในการลงทุนทำเว็บไซต์
  • เหมาะสำหรับการทดลอง
  • แก้ไขหน้าตาเว็บได้ง่าย


ข้อด้อย

  • อาจจะใช้เวลานาน เพราะทำไปเรียนรู้ไปและเกิดความผิดพลาดได้ง่าย
  • ขาดความรู้ในการทำเว็บไซต์ ขาดความเชี่ยวชาญแบบมืออาชีพ เว็บไซต์ได้ไม่ตามที่ต้องการทั้งหมด
  • การใช้ Template สำเร็จรูป มักจะมีข้อจำกัดเยอะกว่าการออกแบบขึ้นมาใหม่ (Custom Design) หน้าตาเว็บเหมือนกับเว็บอื่นๆ
  • มีค่าใช้จ่ายที่มองไม่เห็น เช่น ค่า Man- hour ที่บางบริษัทต้องจ่ายต่อเดือน
  • เสี่ยงกับการถูก Hack ได้ง่ายหากไม่หมั่น upgrade โปรแกรม
  • แก้ไขปรับเปลี่ยนการทำงานของระบบไม่ได้


2.  Order Submissions (form integration & online orders via social media)

ค่าใช้จ่าย 0-5,000 บาท

ซึ่ง Text Submission ได้แต่ Facebook messenger, SMS หรือแม้แต่ Website Form Submission วิธีการเหล่านี้ค่อนข้างเข้าถึงได้ง่าย ค่าใช้จ่ายไม่สูง แต่สิ่งที่ตามมาคือ เวลาที่สูญเสียไปในการคอยตอบข้อความ และจำนวนผู้ดูแล (Admin) ซึ่ง Text Submission จึงเหมาะสำหรับธุรกิจขนาดเล็ก มีจำนวนลูกค้าไม่มากนัก


ข้อดี

  • ง่ายต่อการติดตั้งและใช้งาน
  • ค่าใช้จ่ายในเริ่มต้นไม่สูงมากนัก

ข้อด้อย

  • โอกาสในการติดหน้าแรก Google จึงเป็นไปได้ยาก เนื่องจากไม่รองรับ SEO
  • Facebook page ไม่ใช่ร้านของคุณเอง จึงมีโอกาสที่ facebook โดนแบน หรือบล็อกร้านของคุณได้หากคุณทำผิด policy
  • เสียโอกาสในการขาย หากลูกค้ามีความสนใจและไม่สามารถปิดการขายได้ทันที จึงมีโอกาสที่ลูกค้าจะเปลี่ยนใจและไปหาผู้ประกอบการร้านอื่น
  • ค่าใช้จ่ายด้านบุลากร ซึ่งต้องจ้างคนมาเป็น Admin เพื่อมาคอยตอบคำถาม เมื่อมีคำถามหรือ Form Submission มากขึ้น ก็ต้องจ้างคนมาเพิ่ม ในส่วนนี้จึงเป็นค่าใช้จ่ายที่สูงขี้นเป็นเงาตามตัว
  • เพิ่มงานในด้าน Sale pipeline แต่ไม่ได้เพิ่มจำนวนลูกค้า


3.  จ้างบริษัท Website Design & Digital Marketing Agency

ค่าใช้จ่าย 100,000-1,000,000++
แต่ละบริษัทมีฐานราคาที่แตกต่างกัน ทำให้ราคาค่าจ้างมีช่วงค่อนข้างกว้าง บางบริษัทรับทำแค่ Website design หรือบางบริษัทก็ทำแบบครบวงจร การจ้างบริษัทที่เป็น Agency ที่มีความเชี่ยวชาญทั้งการทำเว็บไซต์ E-Commerce และการทำการตลาดออนไลน์นั้นแตกต่างก็คือ บริการที่คุณได้จาก agency จะไปไกลกว่าแค่เรื่องของความสวยงามของเว็บไซต์ เพราะสิ่งที่ agency ให้ความสำคัญนอกจากดีไซน์แล้ว ยังคำถึงนึงเรื่องเนื้อหา (Content), ประสบการณ์ของผู้ใช้ (User Experience; UX), ระบบการจ่ายเงินออนไลน์, การคำนึงถึงเรื่อง Conversion Rate Optimization และอะไรก็ตามที่จะช่วยทำให้เว็บไซต์นี้ประสบความสำเร็จในแง่ของธุรกิจซึ่งทางผู้ประกอบการจะต้องคำนึงถึง  “จุดมุ่งหมายของบริษัท” เป็นหลัก ว่าต้องการ IT Project ในรูปแบบไหน เพราะบริษัท Website design ส่วนใหญ่ก็ให้บริการในรูปแบบที่คล้ายกัน ซึ่งราคาแพงก็ไม่ได้การันตีได้ว่าผลงานจะออกมาตามราคาที่จ่ายไป


ข้อดี

  • มีความเป็นมืออาชีพอย่างมาก เข้าใจถึงการตลาด
  • มีความเชี่ยวชาญด้าน Digital Marketing ควบคู่กับความเชี่ยวชาญด้านการทำเว็บไซต์ สามารถตอบโจทย์ความต้องการได้
  • มีการให้คำปรึกษา และแนวทางในการต่อยอดธุรกิจ
  • มีการนำเสนอเทคโนโลยี หรือวิธีการใหม่ๆ เสมอ

ข้อด้อย

  • ราคาแพงที่สุด เมื่อมองในแง่ของตัวเงิน


สรุป: เวลาและโอกาส คือสิ่งที่สำคัญกว่าตัวเงิน

การจะทำเว็บไซต์สำหรับธุรกิจ คุณต้องเสียเวลาไปอย่างน้อยๆ 2-6 เดือน ตั้งแต่เริ่มมองหาคนหรือบริษัทมาทำ IT Project กว่าจะดีลงานกันจนเสร็จ กว่าเว็บจะเข้าที่เข้าทางใช้งานได้จริงก็ใช้เวลาไม่น้อย แต่หากสุดท้ายผลงานที่คุณได้มาดันไม่ได้ตอบโจทย์ หรือไม่ได้ทำให้ธุรกิจของคุณดีขึ้น เวลาและโอกาสที่คุณเสียไป มันอาจจะไม่คุ้มกับเงินที่คุณประหยัดได้ เพราะฉะนั้น ก่อนที่คุณจะเริ่ม Project ใดๆขึ้นมา ไม่ว่าจะทำเอง หรือจ้างบริษัทเว็บเอเจนซี่ สิ่งที่เราอยากฝากเอาไว้ให้พิจารณานอกจากราคา ก็อย่าลืมคิดถึงตัวแปรเรื่องเวลา โอกาส และผลตอบแทนที่คุณจะได้จากการทำธุรกิจออนไลน์


Return to Blog page
Zurika Development
© 2019